มาตรฐานการรับรอง


ISO 14236 : 2000 clause 8.3.3.1 การทดสอบแรงดันจากภายใน


     วัตถุประสงค์ :  เพื่อทดสอบตรวจหารอยรั่วของการเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อกับท่อ PE
      วิธีทดสอบ    :  อัดแรงดันน้ำจากภายในตัวชิ้นงาน 2.5 เท่าของ PN  ใช้ระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 

 

 

ISO 14236 : 2000 clause 8.3.4.2 การทดสอบแรงดันจากภายในเมื่ออยู่ในลักษณะโค้ง

  

     วัตถุประสงค์ :  เพื่อทดสอบตรวจหารอยรั่วของการเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อกับท่อ PE ในลักษณะดัดโค้ง      

      วิธีทดสอบ    :  ดันท่อให้โค้งโดยค่ารัศมีเฉลี่ย 15/20 ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อ และใช้แรงดันน้ำ จากภายใน 1.8 เท่าของ PN 
                             ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
    
    


 ISO 14236 : 2000 clause 8.3.4.3 การทดสอบแรงดึง

        
      วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบหาความต้านทานต่อแรงดึงของการเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อ กับท่อ PE
       วิธีทดสอบ    : ค่อยๆเพิ่มแรงดึงจนถึงค่าที่กำหนดไว้ภายใน 30 วินาที และใช้แรงดึงคงที่ไว้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

 

 

ISO 14236 : 2000 clause 8.3.4.4 การทดสอบแรงดันจากภายนอก


       วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบหาการรั่วซึมของน้ำจากภายนอกเข้ามาในตัวชิ้นงานในสภาวะสูญญากาศภายใน
      วิธีทดสอบ    : เติมน้ำให้เต็มถัง อัดแรงดันจากภายนอกตัวชิ้นงาน 0.1 bar เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเพิ่มความดันขึ้นเป็น 0.8 bar 
                             ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 


 




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อต่อแบบสวมอัด

ข้อต่อแบบสวมอัด
ข้อต่อท่อแบบสวมอัด สำหรับ ท่อ PE ที่ใช้ในงานสนามกอล์ฟ ,งานประปา, งานระบบชลประทาน, งานระบายน้ำดี, งานเกษตรกรรม, งานบ่อบาดาล, งานในโรงงานอุตสาหกรรม และงานที่ต้องรับแรงดันน้ำสูง สำหรับ PN16 มีตั้งแต่ขนาด 20-63 มม. สำหรับ PN10 มีตั้งแต่ขนาด 75-110 มม.

ข้อต่อ Electrofusion

ข้อต่อ Electrofusion
ข้อต่อแบบเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Electro fusion Fittings) อุปกรณ์ข้อต่อท่อ HDPE แบบเชื่อมด้วยกระแสไฟฟ้า เป็นการหลอมเนื้อท่อกับตัวข้อต่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีขดลวดตัวนำกระแสไฟฟ้าจะฝังอยู่ในผนังของตัวข้อต่อ จากนั้นสวมปลายท่อที่จะเชื่อมติดกันเข้าไปในตัวข้อต่อ แล้วต่อกระแสไฟฟ้าเข้าทางขดลวดตัวนำเพื่อสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นบริเวณ ผนังด้านในของตัวข้อต่อ ความร้อนจะทำให้เนื้อท่อและตัวข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นปล่อยให้เย็น ท่อจะแข็งตัวและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมวิธีนี้สามารถเชื่อมท่อที่มีขนาดตั้งแต่ 20 มิลลิเมตร จนถึง 1,200 มิลลิเมตร วิธีการเชื่อมนี้นิยมมากในการเชื่อมท่อก๊าซ ท่อน้ำดื่ม ข้อดีของการเชื่อมด้วยกระแสไฟฟ้า คือเหมาะสำหรับการซ่อมหรือเชื่อมท่อในพื้นที่งานติดตั้งที่มีเนื้อที่ค่อน ข้างจำกัด